
|
การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษร จะกล่าวถึงเรื่องกำหนดรูปแบบตัวอักษร, การกำหนดลักษณะของแบบอักษร,
การกำหนดขนาดตัวอักษร,การใช้อักขระพิเศษ, และการกำหนดสี
|
1. อธิบายถึงคำสั่งในการจัดรูปแบบตัวอักษร เช่น การกำหนดตัวอักษร,ลักษณะตัวอักษร,ขนาดตัวอักษร,
และสีตัวอักษร
2. อธิบายรูปแบบของคำสั่งต่างๆ ใช้ในการจัดรูปแบบตัวอักษรได้
3. สามารถแทรกตัวอักษรอักขระพิเศษลงในเอกสารได้
4. สามารถจัดรูปแบบให้กับเอกสารให้ตรงตามที่ต้องการได้ |
|
1. คำสั่งในการจัดรูแบบตัวอักษร
การจัดการเกี่ยวกับตัวอักษรในที่นี้จะกล่าวเรื่อง การกำหนดแบบตัวอักษร, การกำหนดลักษณะ
ของแบบตัวอักษร,
การกำหนดขนาดตัวอักษร,การใช้อักขระพิเศษ,และการกำหนดสี ซึ่งมีแท็กคำสั่งต่างๆ ดังต่อไปนี้ |
<font face> |
กำหนดแบบตัวอักษร (Font Type) |
<b> |
กำหนดตัวอักษรหนา (bold) |
<i> |
กำหนดอักษรตัวเอน (Italic) |
<u> |
กำหนดขีดเส้นใต้ตัวอักษร (Underline) |
<tt> |
กำหนดตัวอักษรพิมพ์ดีด (Typewriter) |
<s> |
กำหนดขีดเส้นพาดทับกลางตัวอักษร (strikethrough) |
<sub> |
กำหนดลักษณะของตัวห้อย (subscript) |
<sup> |
กำหนดลักษณะตัวยก (superscript) |
<big> |
กำหนดลักษณะอักษรตัวโต (Big) |
<small> |
กำหนดลักษณะของอักษรตัวเล็ก (Small) |
<em> |
กำหนดให้เป็นการเน้นข้อความ (Empphasized text) |
<strong> |
การกำหนดให้ข้อความข้อความนั้นสำคัญ (lmportant text> |
<mark> |
การกำหนดให้เน้นข้อความด้วยแถบสี (Highlighted text) |
<q> |
การกำหนดแสดงข้อความในเครื่องหมายคำพูด (Quotatation) |
<del> |
การกำหนดลักษณะการขีดฆ่าข้อความ |
<ins> |
กำหนดลักษณะการแทรกข้อความ |
<font size> |
กำหนดขนาดตัวอักษร(Font Size) |
<basefont size> |
กำหนดขนาดพื้นฐานของตัวอักษร (Base Font) |
<body bgcolor> |
กำหนดสีพื้นของเอกสาร |
<body text> |
กำหนดตัวอักษรทั้งเอกสาร |
|
1.1 การกำหนดแบบตัวอักษร (Font Type)
เป็นการกำหนดการแสดงรูปแบบตัวอักษรบนจอภาพ ให้แตกต่างไปจากแบบตัวอักษรที่ตั้งเป็นค่าปกติ
ของโปรมแกรมเว็บเบราว์เซอร์
เพื่อให้มีความหลากหลายของรูปแบบตัวอักษรมากกว่า 1 รูปแบบ บนจอภาพ
ของเว็บเบราว์เซอร์
แบบตัวอักษรหรือที่เรียกว่า ฟอนต์(Font) นั้นควรกำหนดมาจากฟอนต์ที่ถูกติดตั้งมากับ
ระบบปฏิบัติการและหากเป็นอักษรภาษาไทย
ก็ควรที่จะเลือกฟอนต์ที่ลงท้ายด้วย UPC หรือ New ตัวอย่างแบบอักษร
เช่น AngsanaUPC, Arial Black, Bookman Old Style, Comic Sans MS, Cordia New เป็นต้น
|
<font face ="ชื่อฟอนต"> ข้อความ… </font> |
แต่ถ้าต้องการระบุมากกว่า 1 ชื่อฟอนต์ ให้กำหนดรูปแบบเป็น |
<font face ="ชื่อฟอนต์1","ชื่อฟอนต์2",…> ข้อความ…</font> |
ซึ่งหมายถึงว่าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ไม่มีชื่อฟอนต์ 1 ก็จะนำชื่อฟอนต์ 2 และชื่อฟอนต์ที่กำหนดต่อมา
ใช้ตามลำดับตัวอย่างการกำหนดแบบตัวอักษร |
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<title> font face </title >
</head>
<body>
<font face ="Angsana New"> ตัวอักษรแบบ Angsana New </font><br>
<font face ="Tahoma"> ตัวอักษรแบบ Tahoma </font><br>
<font face ="Comic Sans MS"> ตัวอักษรแบบ Comic Sans MS </font><br>
<font face ="Cordia UPC"> ตัวอักษรแบบ Cordia UPC </font><br>
</body>
</html>
|
ผลที่ได้บนเว็บเบราว์เซอร์ |
|
|