
|
1.11 การตีเส้นแนวนอน (Horizontal Line) ด้วยแท็ก <hr> |
นอกจากการกำหนดรูปแบบคำสั่งๆ ให้กับเอกสาร HTML แล้ว เราก็ยังสามารถทำการ
ตีเส้นเพื่อแยกเอกสารออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้ดูสวยงามมากขึ้น โดยใช้แท็กคำสั่งดังนี้
|
สำหรับคำสั่งนี้ไม่มีแท็กปิด ในกรณีที่ใช้แท็กปกติ<hr> เราจะได้เส้นแบบเต็มความกว้าง
ของหน้าต่างเบราว์เซอร์ขณะนั้น
แต่ถ้าต้องการกำหนดรูปแบบการตีเส้น เราจะต้องใช้คำสั่งเสริมในการกำหนด
ความหนา,
ความยาว, การจัดวางตำแหน่ง,
และการกำหนดเส้นทึบให้กับเส้นโดยใช้รูปแบบ ดังนี้ |
<hr size = ความหนาของเส้น
width = ความยาวของเส้น
align = ตำแหน่งการจัดวาง
color = ชื่อสีหรือรหัสสี
noshade >
|
Size |
เป็นการกำหนดความหนาให้กับเส้น ขนาดปกติคือ 2 พิกเซล (pixels)
|
Width |
เป็นการกำหนดความยาวให้กับเส้นเป็นพิกเซล หรืออาจจะระบุเป็นตัวเลข %
ของความกว้าง
ของหน้าต่างเบราว์เซอร์ขณะนั้นก็ได้ แต่หากไม่ระบุตัวเลขใดๆ
จะได้ความยาวของเส้น
เต็มตามความกว้างของหน้าต่างเบราว์เซอร์
|
Align |
เป็นการกำหนดตำแหน่งการจัดวาง (Position) ของเส้น ประกอบด้วย
Left กำหนดการจัดวางตำแหน่งของเส้นชิดซ้ายบรรทัด
Center กำหนดการจัดวางตำแหน่งของเส้นกึ่งกลางบรรทัด
right กำหนดการจัดวางตำแหน่งของเส้นชิดขวาบรรทัด
|
noshade |
เป็นการกำหนดให้แสดงเส้นทึบไม่มีการแลเงาของเส้น
|
color |
เป็นการกำหนดสีให้กับเส้น
|
ตัวอย่างการใช้คำสั่งการตีเส้นในเอกสารร่วมกับคำสั่งการจัดรูปแบบเอกสาร |
<!DOCTYPE html>
<html>
<head>
<title> Horizotal line Tag</title>
</head>
<body>
<h3> <center> รายชื่อหนังสือ </center> </h3>
<hr size=3 width=50% align=center>
<pre>
รหัสวิชา ชื่อวิชา ราคาปก
20204 โปรแกรมมัลติมีเดีย 125
20203 โปรแกรมตารางคำนวณ 95
20202 โปรแกรมกราฟิก 140
20201 โปรแกรมประมวลผลคำ 95
</pre>
<hr size=2 width=300 align=center noshade>
</body>
</html> |
ผลที่ได้บนเว็บเบราว์เซอร์ |
|
|