ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การออกแบบเว็บไซต์
ภาษา html
การจัดรูปแบบเอกสาร
การจัดรูปแบบตัวอักษร
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
การสร้างตาราง
การเชื่อมโยงเว็บเพจ
การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย
แบบทดสอบหลังเรียน


       4.2   วิธีการสร้างเว็บเพจ


                ดังที่ได้ทราบกันแล้วว่า เว็บเพจ (Web page) เป็นเอกสารซึ่งถูกเขียนขึ้นด้วยภาษา HTML
ดังนั้นการที่เราจะมีเว็บเพจเป็นของตัวเองจึงไม่ใช่เรื่องยาก จากนี้ไปเราจะมาเริ่มศึกษาและสร้างเว็บเพจกัน
การสร้างเว็บเพจ จะกระทำได้ 3 ทางด้วยกันคือ
               1) สร้างด้วยโปรกรมสำเร็จรูป
               2) สร้างด้วยโปรแกรมระบบ CMS (Content Management System)
               3) สร้างขึ้นเอง

               4.2.1  การสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

                          เป็นการใช้โปรแกรมต่างๆ ที่มีความสามารถในการสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage,
Adobe Dreamweaver,
หรือโปรแกรมต่างๆ ใน  Microsoft Office เช่น Microsoft Word เป็นต้น
การสร้างเว็บเพจด้วยวิธีนี้ เราไม่จำเป็นต้องเรียนรู้คำสั่งของภาษา HTML แต่อย่างใดโดยโปรแกรมเหล่านี้
จะทำการแปลงให้เราเองโดยอัตโนมัติ

               4.2.2  การสร้างเว็บเพจด้วยโปรแกรมระบบ CMS (Content Management System)

                         CMS ย่อมาจาก Content Management System เป็นระบบที่นำมาช่วยในการสร้าง
และบริหารเว็บไซต์ แบบสำเร็จ รูปโดยใน การใช้งาน CMS นั้นผู้ใช้งานแทบไม่ต้องมีความรู้ในด้านการเขียนโปรแกรม
ก็สามารถ สร้างเว็บไซต์ได้ ตัวของ CMS เองจะมีโปรแกรมแถมมาและสามารถแทรกเองได้มากมาย เช่น Webboard,
ระบบจัดการป้ายโฆษณา,ระบบนับจำนวนผู้ชม แม้กระทั่งตระกร้าสินค้า และอื่นๆอีกมากมาย

                          CMS เป็นเหมือนโปรแกรมๆหนึ่งที่มีผู้พัฒนามาจากภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในเว็บไซต์ เช่น PHP ,
Python , ASP , JSP, ซึ่งในปัจจุบันมีผู้พัฒนา CMS ฟรีขึ้นมามากมาย อย่างเช่น WordPress , Joomla! และ
Drupal เป็นต้น ซึ่งแน่นอนว่าว่า ผู้พัฒนาระบบ CMS ฟรีที่กล่าวมาล้วนเป็นมืออาชีพที่มีฝีมือ ในเรื่องของเว็บไซต์
เป็นอย่างดี ทั้งการเขียนโปรแกรมที่รัดกุม การออกแบบเนวิเกชั่นที่ดี ทำให้ภาพรวมของเว็บไซต์ที่ใช้ CMS
นั้นออกมาในแนวมืออาชีพอย่างมาก

                          WordPress (เวร์ดเพรส)  
                          WordPress ถือได้ว่าเป็นฟรีสคริปต์ CMS ที่มาแรงและได้รับความนิยม ในการนำไปใช้สร้างเว็บ
หรือบล็อกมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องจากการที่ติดตั้งที่แสนจะง่ายดาย บวกกับความสะดวก ในการใช้งาน
การปรับแต่งแก้ไข รวมไปถึงมีสคริปต์,ปล๊กอิยเยี่ยม,เทมเพลตสวยๆ น่าใช้ที่ถูกออกแบบและสร้างไว้ โดยนักพัฒนา
หรือโปรแกรมเมอร์ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันได้ฟรีๆ

                          Joomla! (จูมลา!)
                          Joomla! เป็นอีกหนึ่งฟรีคริปต์ CMS ที่ได้รับความนิยมอีกตัว ซึ่งสามารถนำ CMS ฟรีตัวนี้ไปปรับแต่ง
สร้างเป็นเว็บไซต์ของบริษัท ห้างร้าน องค์กร หรือทางด้านธุรกิจได้อย่างลงตัวทีเดียว ซึ่ง Joomla! เองก็มีปลั๊กอินฟรี
เอาไว้ในสามารถดาวน์โหลดไปปรับแต่งและใช้งานได้อย่างหลากหลายเช่นกัน

                           Drupal (ดรูพาล)
                           Drupal เป็นอีกหนึ่งฟรีคริปต์ CMS ที่มีผู้ใช้มากพอสมควร ซึ่งมีธีมและโมดูลให้ดาวน์โหลด
ไปใช้มากมาย แต่ติดปัญหาเนื่องจากว่าการติดตั้งและใช้งานจะยุ่งยากกว่า WordPress มาก ในบ้านเรา จึงไม่ค่อย
เห็นเว็บบล็อกที่สร้างด้วย Drupal มากนัก

             ข้อดีของ CMS
                 1. ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำเว็บไซต์ เพียงแค่เล่นอินเทอร์เน็ตเป็นบ้าง ก็สามารถ
มีเว็บไซต์เป็นของตัวเองได้
                 2. ไม่เสียเวลาในการพัฒนาเว็บไซต์ ไม่เสียเงินจำนวนมาก
                 3. ง่ายต่อการดูแล เพราะมีบางระบบจัดการทุกอย่างให้เราหมด
                 4. มีระบบจัดการที่เราสามารถหามาใส่เพิ่มได้มากมาย
                 5. สามารถเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ได้ง่ายๆ เพียงแค่โหลดธีม (Theme) ของ CMS นั้นๆ

              ข้อเสียของ CMS
                  1. ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการออกแบบธีม (หน้าตาของเว็บ) เอง จะต้องใช้ความรู้มากกว่าปกติ
เนื่องจาก CMS มีหลายๆระบบมารวมกันทำให้เกิดความยุ่งยากสำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้
                  2. ผู้ใช้จะต้องศึกษาระบบ CMS ที่ผู้พัฒนาสร้างขึ้นมา เช่น จะต้องใส่ข้อความลงตรงไหน
จะต้องแทรกภาพอย่างไร ซึ่งจะลำบากเพียงแค่ช่วงแรกเท่านั้น
                  3. ในการใช้งานจริงนั้นจะมีความยุ่งยากในการติดตั้งครั้งแรกกับเว็บเบราว์เซอร์ แต่ปัจจุบันก็มี
ผู้ให้บริการเว็บเบราว์เซอร์มากมายที่เสนอลงและติดตั้งระบบ CMS ให้ฟรีๆโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

              4.2.3  การสร้างเว็บเพจขึ้นเอง

                        โดยการเรียนรู้คำสั่งของภาษาที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ ซึ่งอาจเป็น

                         - ภาษา HTML
                            HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language เป็นภาษาพื้นฐานของการพัฒนาเว็บไซต์
โดยเฉพาะ เป็นภาษาที่เว็บเบราว์เซอร์สามารถเข้าใจได้ดีที่สุด และแสดงผลได้เร็วที่สุดด้วยเช่นกัน

                         - ภาษา XML
                            
XML ย่อมาจาก Extensive Markup Language เป็นภาษาหรือชุดคำสั่งเกี่ยวกับข้อมูล
บนเว็บ ที่ให้การพัฒนาและมีศักยภาพในส่วนของโครงสร้างข้อมูล ทำให้การจัดการข้อมูลหรือเรียกใช้ข้อมูล
จากแอพพลิเคชันต่างๆ จะเป็นมาตรฐานเดียวกัน

                         - ภาษา JSP
                           JSP (Java Server Pages) เป็นเทคโนโลยีการเขียนสคริปต์บนเว็บที่ใช้ภาษา Java เป็นหลักสามารถทำงานได้โดยไม่ชึ้นอยู่กับผู้ผลิตซอฟต์แวร์รายใดรายหนึ่งโดยเฉพาะ

                         - ภาษา PHP
                           PHP (Professional Home Page) เป็นภาษาที่มีโครงสร้างคำสั่งมาจากภาษาซี,จาวา,และเพิร์ล
ซึ่งภาษา PHP นั้นเป็นภาษาที่ใช้สำหรับการเขียนและแสดงผลออกมาในรูปแบบของเว็บไซต์ด้วยภาษา HTML
โดยเป็นส่วนที่ใช้ในการคำนวณ ประมวลผล เก็บค่า และทำตามคำสั่งต่างๆ เช่น รับค่าจากแบบฟอร์มหรือเว็บบอร์ด
แล้วนำไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลเพื่อนำมาแสดงผลต่อไป