ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การออกแบบเว็บไซต์
ภาษา html
การจัดรูปแบบเอกสาร
การจัดรูปแบบตัวอักษร
การใส่รูปภาพลงในเว็บเพจ
การสร้างตาราง
การเชื่อมโยงเว็บเพจ
การใส่ไฟล์มัลติมีเดีย
แบบทดสอบหลังเรียน


          3.2 รูปแบบโครงสร้างของเว็บไซต์

                 การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ สามารถทำได้หลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะของข้อมูลความถนัด
ของผู้ออกแบบ ตลอดจนกลุ่มเป้าหมายที่จ้องการนำเสนอ โครงสร้างของเว็บไซต์ประกอบไปด้วย 4 รูปแบบใหญ่ ๆ
ได้ดังนี้


                1) โครงสร้างของเว็บไซต์แบบเรียงตามลำดับ (Sequential Structure)
 
                     เป็นโครงสร้างแบบธรรมดาที่ใช้กันมากที่สุดเนื่องจากง่ายต่อการจัดระบบข้อมูล ข้อมูลที่นิยม จัดด้วย
โครงสร้างแบบนี้ มักเป็นข้อมูลที่มีลักษณะเป็นเรื่องราวตามลำดับ เช่น การเรียงลำดับตามตัวอักษร ดัชนี สารานุกรม
หรืออภิธานศัพท์ โครงสร้างแบบนี้ เหมาะกับเว็บไซต์ที่มีขนาดเล็ก เนื้อหาไม่ซับซ้อน ใช้การเชื่อมโยง (Link)
ไปทีละหน้า ทิศทางของการเข้าสู่เนื้อหา (Navigation) ภายในเว็บจะเป็นการดำเนินเรื่อง ในลักษณะเส้นตรง
โดยมักจะมีปุ่มเดินหน้า-ถอยหลังเป็นเครื่องมือหลักในการกำหนดทิศทาง ข้อเสียของโครงสร้าง ระบบนี้คือ
ผู้ใช้ไม่สามารถกำหนดทิศทางการเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ทำให้เสียเวลาในการเข้าสู่เนื้อหา



                 2) โครงสร้างของเว็บไซต์แบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure)


                      เป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดรูปแบบหนึ่งในการจัดระบบโครงสร้างที่มีความซับซ้อนของข้อมูล
โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนต่างๆและมีรายละเอียดย่อยๆในแต่ละส่วนลดหลั่นกันมาในลักษณะแนวคิด
เดียวกับ แผนภูมิองค์กร จึงเป็นการง่ายต่อก็ทำความเข้าใจกับโครงสร้างของเนื้อหาลักษณะเด่นก็คือการมีจุดเริ่มต้น
คือจุดร่วมจุดเดียว นั่นคือ โฮมเพจ (Home page) และเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาในลักษณะเป็นลำดับจากบนลงล่าง




                 3) โครงสร้างของเว็บไซต์แบบตาราง (Grid Structure)

                      โครงสร้างรูปแบบนี้มีความซับซ้อนมากกว่ารูปแบบที่ผ่านมา การออกแบบเพิ่มความยืดหยุ่น
ให้แก่การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้ โดยการเพิ่มการเชื่อมโยงซึ่งกันและกันระหว่างเนื้อหาแต่ละส่วนเหมาะแก่
การแสดงให้เห็นความสัมพันธ์กัน ของเนื้อหา การเข้าสู่เนื้อหาของผู้ใช้จะไม่เป็นลักษณะเชิงเส้นตรง
เนื่องจากผู้ใช้สามารถเปลี่ยนทิศทาง การเข้าสู่เนื้อหาของตนเองได้ เช่น ในการศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์
สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และ รัตนโกสินทร์ โดยในแต่ละสมัยแบ่งเป็นหัวข้อย่อยเหมือนกันคือ การปกครอง
ศาสนา วัฒนธรรม และภาษา ในขณะที่ผู้ใช้กำลังศึกษาข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับการปกครอง ในอยุธยา
ผู้ใช้อาจศึกษาหัวข้อศาสนา เป็นหัวข้อต่อไปก็ได้ หรือจะข้ามไปดูหัวข้อ การปกครอง ในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนก็ได้
เพื่อเปรียบเทียบลักษณะข้อมูล ที่เกิดขึ้นคนละสมัย




                  4) โครงสร้างเว็บไซต์แบบใยแมงมุม (Web Structure)

                      โครงสร้างประเภทนี้จะมีความยืดหยุ่นมากที่สุด ทุกหน้าในเว็บสามารถจะเชื่อมโยงไปถึงกันได้หมด
เป็นการสร้างรูปแบบการเข้าสู่เนื้อหาที่เป็นอิสระผู้ใช้สามารถกำหนดวิธีการเข้าสู่เนื้อหาได้ด้วยตนเอง การเชื่อมโยง
เนื้อหาแต่ละหน้าอาศัยการเชื่อมโยงข้อความที่มีแนวคิด (Concept) เหมือนกัน ของแต่ละหน้าในลักษณะ ของ
ไฮเปอร์เท็กซ์หรือไฮเปอร์มีเดีย โครงสร้างลักษณะนี้จัดเป็นรูปแบบ ที่ไม่มีโครงสร้างที่แน่นอนตายตัว (Unstructured)
นอกจากนี้การเชื่อมโยงไม่ได้จำกัด เฉพาะเนื้อหาภายในเว็บนั้นๆ แต่สามารถเชื่อมโยงออกไปสู่เนื้อหา
ในเว็บภายนอกได้ด้วย